
“การ์ทเนอร์” บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาชั้นนำของโลกเปิด เผยรายงาน ผลกระทบจากโรคโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมซัพพลายเชนทั้งระบบ พร้อมแนะนำผู้ประกอบการให้จัดแผน 3 ระยะในการรับมือ
- รายงานของการ์ทเนอร์ ชี้ว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ หรือสินค้าสำเร็จรูป ที่ขนส่งผ่านศูนย์โลจิสติกส์ในพื้นที่ที่ได้รับผล เกิดกระทบด้านแรงงาน อาจเกิดการขาดแคลนพนักงานออฟฟิศ หรือคนงานในโรงงานเนื่องจากการถูกกักกันโรค หรือจากอาการเจ็บป่วย
- เกิดกระทบการเข้าถึงแหล่งต้นทางของสินค้าหรือการบริการ เนื่องจากการเดินทางอาจถูกจำกัดในบางพื้นที่
- เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึง การเสาะหาธุรกิจหรือโปรแกรมใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะสมเพื่อธุรกรรมทางธุรกิจ
- การตั้งศูนย์ขนส่งและซัพพลายเน็ตเวิร์ค เกิดข้อจำกัดด้านการจัดเก็บและความพร้อมใช้งาน รวมทั้งการขนส่งจะยุ่งยากขึ้น
- ขณะที่ในฝั่ง ผู้บริโภคจะหันไปซื้อของออนไลน์แทน จึงเป็นเรื่องท้าทายเครือข่ายการขนส่งสินค้า
- การ์ทเนอร์ได้แนะนำให้ผู้ประกอบการจัดทำแผน 3 ระยะในการรับมือผลกระทบจากการระบาดโควิด-19ดังนี้
แผนระยะสั้นที่ต้องทำทันที คือ การพัฒนาโปรแกรมสำหรับตรวจสอบและรับมือความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดจากภาวะชะงักงันของซัพพลายเชนในประเทศ โดยสร้างโปรแกรมและจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้ได้ภาพเต็มอย่างรวดเร็วที่สุด
- ประเมินว่า การใช้จ่ายของลูกค้าอาจได้รับผลกระทบอย่างไร
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าคงคลังทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ และอยู่นอกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
- ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนควรทำงานร่วมฝ่ายกฎหมาย และทรัพยากรบุคคลทำความเข้าใจกับผลกระทบทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถส่งมอบของให้ลูกค้า และต้องให้คำแนะนำแก่พนักงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
แผนระยะกลาง สร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงต้องมีสินค้าคงคลังสำรองไว้ เพื่อมีโอกาสเข้าถึงซัพพลายเออร์ที่หลากหลายขึ้น และมีการทบทวนหรือสร้างแนวทางบริหารความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร
- ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กร และซัพพลายเออร์สำคัญในเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างแนวทางจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกันในการตรวจสอบ และเตรียมความพร้อมสำหรับความขาดแคลนด้านวัสดุอุปกรณ์ และกำลังการผลิตที่มีศักยภาพ
แผนระยะยาว ต้องคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยฝึกวางแผน และพัฒนาแผนปฏิบัติการไว้รองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งค้นหาและพัฒนาแหล่งต้นทางของสินค้า หรือการบริการอื่นเข้ามาเพิ่ม